เกร็ดความรู้

 

มลพิษทางน้ำ

Ø    ท่านทั้งหลายรู้ไหม?...ว่าแม่น้ำหลายสายที่เราเคยใช้อุปโภค บริโภคมาหลายชั่วอายุคน ทุกวันนี้แม่น้ำเหล่านั้นไม่เหลือร่องรอยของสภาพเดิม จากที่เคยใสสะอาดกลับดำคล้ำและมีกลิ่นเหม็น รวมทั้งมีสารอันตรายปะปนจนไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีกต่อไป

Ø    น้ำเสีย.....เกิดขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ เราสามารถพบเห็นการก่อน้ำเสียได้โดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น การปล่อยน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ชุมชน ฟาร์มปศุสัตว์ การทำเกษตร การทำเหมืองแร่ และคราบน้ำมันจากเรือหางยาวในแม่น้ำ เป็นต้น

Ø    มลพิษทางน้ำ....มีการระบายหรือทิ้งสิ่งสกปรกลงไปในน้ำมากเกินไป จนทำให้แหล่งน้ำนั้นไม่สามารถฟอกตัวเอง (Self Purification) ได้ทันตามธรรมชาติ.....น้ำจึงเน่าเสีย

 

 

นิยาม

Ø    น้ำเสีย  (Wastewater) ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535  หมายความว่า ของเสียที่อยู่ในสภาพเป็นของเหลว รวมทั้งมลสารที่ปะปนและปนเปื้อนอยู่ในของเหลวนั้น

 

Ø    น้ำเสีย  หมายถึง  น้ำที่มีสารใดๆ หรือสิ่งปฏิกูลที่ไม่พึงปรารถนาปนอยู่  การปนเปื้อนของสิ่งปรกเหล่าน้ำ จะทำให้คุณสมบัติของน้ำเปลี่ยนแปลงไปจนอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ประโบชน์ได้ สิ่งปนเปื้อนที่อยู่ในน้ำเสียได้แก่ น้ำมัน ไขมัน ผงซักฟอก สบู่ ยาฆ่าแมลง สารอินทรีย์ที่ทำให้เกิดการเน่าเหม็นและเชื้อโรคต่างๆ

 

Ø    น้ำเสีย   :  น้ำที่ผ่านการนำไปใช้ประโยชน์ในกิจกรรมต่างๆ เช่น ครัวเรือน โรงงานอุตสาหกรรม การเกษตรและกสิกรรม เป็นต้น

 

Ø    น้ำเสีย  จึงมีส่วนประกอบต่างๆ ที่มาจากกิจกรรมซึ่งเป็นแหล่ะกำเนิดของมัน สิ่งที่อยู่ในน้ำเสียเป็นสารต่างๆ ที่มาจากวัตถุดิบและผลิตผลที่เกิดขึ้น เช่น อุตสาหกรรมอาหารจะให้น้ำเสียที่มีสารอินทรีย์ ส่วนอุตสาหกรรมชุบโลหะให้น้ำเสียที่มีโลหะหนักต่างๆ เป็นต้น หรือของเสียที่อยู่ในสภาพที่เป็นของเหลว รวมทั้งมลสารที่ปะปนหรือปนเปื้อนในของเหลวนั้น ที่ถูกปล่อยทิ้ง หรือ ถูกปล่อยออกมาจากแหล่งกำเนิด เช่น โรงงานอุตสาหกรรม น้ำล้างคอกปศุสัตว์ น้ำทิ้งจากชุมชน เป็นต้น

 

น้ำเสีย หรือ มลพิษทางน้ำ

 

อาจแยกเป็นประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

 

Ø    น้ำเน่า  ได้แก่  น้ำที่มีสารอินทรีย์ปะปนอยู่มาก  จุลินทรีย์ใช้ออกซิเจนในการย่อยสลายจนเหลือละลายอยู่น้อย น้ำมีสีดำคล้ำ และอาจส่งกลิ่นเหม็น เนื่องจากการปล่อยก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) จากการย่อยสลายของแบคทีเรียชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน (anaerobic bacteria)

Ø    น้ำขุ่นข้น  ได้แก่  น้ำที่มีสารแขวนลอย สารละลาย รวมทั้งสารอินทรีย์ เจอปนอยู่จำนวนมาก ทำให้น้ำมีสีเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น สีดำ สีแดง สีเขียว หรือสีเทา เป็นอะปสรรคต่อการนำมาใช้ประโบชน์ในการสังเคราะห์แสงของพืชน้ำและการดำรงชีวิตของสัตว์

Ø  น้ำร้อน  ได้แก่  น้ำที่ได้รับการถ่ายเทความร้อนจากน้ำทิ้ง จนมีอุณหภูมิสูงกว่าที่ควรจะเป็นตามธรรมชาติ ส่วนมากเกิดจากการระบายน้ำหล่อเย็น จากโรงงานอุตสาหกรรมลงสู่แหล่งน้ำ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิต และการแพร่พันธุ์ของสัตว์น้ำ และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ โดยทำให้ออกซิเจนละลายในน้ำน้อยลง

Ø  น้ำที่มีคราบน้ำมัน  ได้แก่  น้ำที่มีน้ำมันหรือไขมันเจือปนอยู่มากจนเป็นอุปสรรคต่อการถ่ายเทออกซิเจนลงสู่แหล่งน้ำ หรือการดำรงชีวิตของสัตว์และพืชน้ำ ส่วนมากเกิดจากการปล่อยน้ำเสียจากชุมชนลงสู่แหล่งน้ำ การอุตสาหกรรมและการขนส่งทางน้ำØ  น้ำเป็นพิษ  ได้แก่ น้ำที่มีสารเป็นพิษเจือปนอยู่ในระดังที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตมนุษย์และสตว์น้ำ เช่น สารประกอบของปรอท ตะกั่ว แคดเมียม สารหนู เป็นต้น โลหะหนักมักสะสมอยู่ในห่วงโซ่อาหาร เมื่อมนุษย์บริโภคเข้าไปโดยตรงหรือโดยอ้อม เช่น บริโภคผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ก็จะเข้ามาสะสมในร่างกายทำให้เกิดอันตรายได้

Ø  น้ำที่มีเชื้อโรค , หรือจุลินทรีย์  ได้แก่  น้ำที่มีเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคทางเดินอาหาร โรคตับ โรคระบบการหมุนเวียนของเลือด โรคพยาธิและโรคผิวหนังซึ่งได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส พยาธิ โปรโตซัว เชื้อรา โดยอาจจะเข้าสู่ร่างกายโดยตรง หรือการบริโภคสัมผัสทางผิวหนัง หรือระบบการหายใจ

Ø  น้ำที่มีกัมมันตภาพรังสี  ได้แก่  น้ำที่มีสารกัมมันตรังสีเจือปนอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ โดยที่สารกัมมันตรังสี อาจเกิดขึ้นได้จากธรรมชาติในการสลายตัวของแร่หินหรือเกิดจากโรงงานนิวเครียร์ปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำ

น้ำกร่อย  ได้แก่  น้ำที่ละลายเกลือในดิน หรือน้ำทะเลไหลซึม เข้ามาเจือปนจนน้ำเสื่อมคุณภาพไม่เหมาะสมในการใช้อุปโภค บริโภค หรือการเกษตรกรรม ในประเทศไทย เกิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและริมฝั่งทะเลภาคใต้

 

 

ลักษณะของน้ำเสีย

 1.   ลักษณะน้ำเสียทางกายภาพ

v  สี  (COLOR)    น้ำเสียจากชุมชนมักจะมีสีเทาปนน้ำตาลจางๆ ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะเกิดปฏิกิริยาแบบไม่ใช้ออกซิเจน สีจะเริ่มเปลี่ยนเข้มขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดจะเป็นสีดำ พร้อมกับมีกลิ่นเหม็น โดยทั่วไปแล้ว สีดำของน้ำเสียเกิดจากการรวมตัวของก๊าซไข่เน่า กับธาตุโลหะที่มีอยู่ในน้ำเสีย เกิดเป็นโลหะซัลไฟด์  (METALLIC SULFIDES)

v  กลิ่น  (ODOR)  กลิ่นในน้ำเสียนั้นโดยทั่วไปเกิดจากก๊าซ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นไฮโดรเจนซัลไฟด์ ซึ่งเกิดจากจุลินทรีย์ชนิดไม่ต้องการออกซิเจน (ANAEROBIC MICROORGANISM)  กลิ่นของไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นดัชนีบ่งบอกการทำงานของระบบท่อน้ำเสีย ระบบบำบัดน้ำเสีย ตลอดจนระบบทิ้งตะกอน จำเป็นจะต้องพิจารณาถึงการควบคุมกลิ่นเพื่อให้สาธารณะยอมรับระบบเหล่านี้ด้วย

v  ของแข็ง (SOLIDS)   หมายถึง ปริมาณของสารต่างๆ ที่มีอยู่ในน้ำเสียทั้งในลักษณะที่ไม่ละลายน้ำ และละลายน้ำ (DISSOLVED SOLIDS) ของแข็งที่ไม่ละลายน้ำ มี อาทิ หลอดกาแฟ ผ้าอนามัย เศษอาหาร อุจจาระสิ่งปฏิกูลต่างๆ รวมทั้งจุลินทรีย์ ของแข็งบางชนิดที่มีน้ำหนักเบาละ แขวนลอยอยู่ในน้ำ (SUSPENDED) บางชนิดหนักและจมลงเบื้องล่าง (SETTLEABLE SOLIDS)  ของแข็งที่ไม่ละลายน้ำนี้อรจนร้างปัญหาในการอุดตัน และถ้าปล่อยทิ้งในปริมาณมาก จะทำให้เกิดความสกปรก และตื้นเขินในลำน้ำธรรมชาติ ตลอดจนบดบังแสดงแดดส่องลงสู่ท้องน้ำ

2.   ลักษณะน้ำเสียทางเคมี

v  พีเอช  (pH)  เป็นค่าที่บอกถึงความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำเสีย หากค่าพีเอชต่ำกว่า 7 น้ำจะมีสภาวะเป็นกรด ถ้าสูงกว่า 7 มีสภาวะเป็นด่าง  โดยทั่วไปสิ่งมีชีวิตในน้ำหรือจุลินทรีย์ในถังบำบัดจะดำรงชีพ ได้ดีในสภาวะเป็นกลาง คือ พีเอชประมาณ 6-8  ค่าพีเอชที่สูงเกินไปหรือต่ำเกินไปจะทำให้ระบบนิเวศน้ำเสียหาย สัตว์และพืชน้ำไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ นอกจากนี้ยังทำให้น้ำมีฤทธิ์กัดกร่อนท่อหรือภาชนะได้

v  สารอินทรีย์  (ORGANIC MATTER)  ของเสียที่พบในปริมาณมากที่สุด และ เป็นสิ่งที่ทำให้เกิด ปัญหาในน้ำเสีย คือ สารอินทรีย์ เนื่องจากเมื่อปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ สารอินทรย์จะถูกย่อยสลายจุลินทรีย์ ถ้าในน้ำมีออกซิเจนไม่พอ จะเกิดการย่อยสลายในสภาพไร้ออกซิเจน ทำให้เกิดการเน่าเสียขึ้น

-         สารประกอบอินทรีย์ที่พบในน้ำเสีย คือ โปรตีน (40-60%) คาร์โบไฮเดรต (20-50%) ไขมัน (10%) ซึ่งมาจากสิ่งขับถ่าย และกิจกรรมการใช้น้ำของคนเช่น การชำระร่างกาย ประกอบอาหาร ซักล้าง ฯลฯ

-         โปรตีนและคาร์โบไฮเดรตสามารถถูกจุลินทรีย์ย่อยสลายง่าย

-         แต่ไขมันและน้ำมันจะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ได้ยาก  ซึ่งถ้าไม่มีการดักหรือแยกออกก่อนจะทำให้เกิดปัญหา คือ การอุดตันของท่อระบายน้ำ และเมื่อเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียจะไปรบกวนการทำปฏิกิริยาของจุลินทรีย์ และขัดขวางการถ่ายเทของออกซิเจนจากอากาศสู่น้ำ มีผลทำให้ออกซิเจนละลายน้ำมีน้อยลง

 

3.   ลักษณะน้ำเสียทางชีววิทยา

v  จุลินทรีย์  (MICROORGANISM)  คือ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า

-         จุลินทรีย์เหล่านี้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้สารอินทรีย์ถูกย่อยสลาย เนื่องจากพวกสารอินทรีย์ต่างๆ ในน้ำเสียจะเป็นอาหารอย่างดีสำหรับพวกจุลินทรีย์  ซึ่งเป็นหลักสำคัญอย่างยิ่งในการเปลี่ยนน้ำเสียให้เป็นน้ำดี

-         โดยขณะที่จุลินทรีย์กินพวกสาร อินทรีย์ สารอินทรีย์ในน้ำเสียจะลดลง และก็คือน้ำเสียจะค่อยๆ กลายสภาพเป็นน้ำดี

-         นี่เป็นเพียงหลักกว้างๆ ที่ใช้กันอยู่ในระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งปัญหายุ่งยากส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นกับระบบบำบัดน้ำเสีย มักจะเกี่ยวกับระบบน้ำเสียทางชีววิทยา (BIOLOGICAL TREATMENT) ปริมาณและจุลินทรีย์เหล่านี้ จะเป็นตัวชี้ให้ผู้ที่ทำหน้าที่ควบคุมหรือดูแลระบบบำบัดทราบ ถึงประสิทธิภาพการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียว่าดีหรือเลวได้

-    แบคทีเรียชนิดโคลิฟอร์มใช้บ่งชีคุณภาพ

 

 

 

 

 

 องค์ประกอบของน้ำเสีย

1.      สารอินทรีย์  หมายถึง  สารซึ่งมาจากสิ่งมีชีวิต ทั้งสัตว์และพืช มีธาตุคาร์บอนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ และอาจมีธาตุไฮโดรเจน และสารอนุพันธ์ของไฮโดรเจน-คาร์บอน เป็นองค์ประกอบร่วมอยู่ด้วย ตัวอย่างของสารอินทรีย์ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน ซึ่งสามารถถูกย่อยสลายได้โดยจุลินทรีย์ ปริมาณของสารอินทรีย์ในน้ำนิยมวัดด้วยค่า บีโอดี (Biochemical Oxygen Demand-BOD)

2.      สารอนินทรีย์  ได้แก่  แร่ธาตุต่างๆ ที่อาจจะไม่ทำให้น้ำเน่าเหม็น แต่อาจจะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต สารอนินทรีย์ที่จำเป็นต้องได้รับการบำบัดในกระบวนการบำบัดน้ำเสีย ได้แก่ ซัลไฟด์ ไนโตรเจน และ ฟอสฟอรัส กรด ด่าง โลหะ เป็นต้น

3.      โลหะหนักและสารพิษอื่นๆ  อาจอยู่ในรูปของสารอินทรีย์ หรือสารอนินทรีย์ก็ได้ นอกจากนี้ยังสามารถสะสมอยู่ในห่วงโซ่อาหาร จนเกิดเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เช่น ปรอท โครเมียม ทองแดง

-         ปกติจะอยู่ในน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม

-         สารเคมีที่ใช้ในการกำจัดศัตรูพืชที่ปนมากับน้ำทิ้งจากการเกษตร

-         เขตชุมชนอาจมีสารพิษ มาจากอุตสาหกรรมในครัวเรือนบางประเภท เช่น ร้านชุบโลหะ อู่ซ่อมรถ เป็นต้น

4.       ไขมัน , น้ำมัน และ กรีส  (Fat Oil and Grease)  สารประกอบนี้เกิดจากการใช้น้ำมัน ไขมัน ขี้ผึ้ง จนกระทั่งถึงน้ำมันหล่อลื่น ซึ่งยังไม่มีกรรมวิธีการเก็บรวบรวมน้ำมันหล่อลื่นเหล่านี้สำหรับการขนส่งและการกำจัดอย่างถูกวิธี

·       ส่วนน้ำมันและไขมันที่เกิดจากบ้านเรือน ร้านอาหาร และภัตตาคารต่างๆ จำเป็นต้องมีการสร้างบ่อดักไขมันเพื่อกำจัดไขมันใบเบื้องต้นก่อน

·       สำหรับประเทศที่อากาศหนาว หากไม่มีการกำจัดไขมันในเบื้องต้น อาจก่อให้เกิดปัญหาท่ออุดตันและทำให้ท่อแตกได้ในที่สุด

·       เมื่อ ปนเปื้อนกับน้ำจะลอยอยู่ตามผิวน้ำ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการสังเกคราะห์แสงของพืชน้ำ พร้อมทั้งกีดขวาง การถ่ายเทของออกซิเจนลงสู่แหล่งน้ำ ทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำลดลงในที่สุด

 

 

 

 

5.       ความร้อน  ทำให้เกิดการแบ่งชั้น (Strastification)  ของน้ำ เร่งปฏิริริยาการใช้ออกซิเจนของจุลินทรีย์ และลดระดับการละลายของน้ำออกซิเจนน้ำทำให้เกิดสภาพเน่าเหม็นขึ้นได้

·       อุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสม สำหรับในกระบวนการบำบัดน้ำเสียควรอยู่ประมาณ 25-35 องศาเซลเซียส

·       ความร้อนของน้ำเสียทำให้จุลินทรีย์บางชนิดในถังย่อยสลายตายหรือเจริญเติบโตช้าลง และมีผลต่อประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียได้ความร้อน

·       น้ำเสียเกิดจาก Condenser Boiler และขบวนการทำความร้อนอื่นๆ ดังนั้นจึงควรปรับอุณภูมิของน้ำเสียให้เหมาะสมก่อนปล่อยสู่ระบบบำบัด

 

6.       ของแข็ง  (Solids)  หมายถึง  สารที่เหลืออยู่เป็นตะกอนภายหลังจากที่ผ่านการระเหยด้วยไอน้ำ และทำให้แห้งที่อุณหภูมิ  103-105 องศาเซลเซียส

·       ตะกอนที่เกิดขึ้นมีทั้งสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์

·       การตรวจวัดหาค่าของแข็งนี้ทำทั้งในน้ำดิบที่นำมาทำน้ำประปา น้ำทิ้งจากบ้านเรือน และจากแหล่งอื่นๆ ดังนั้นการตรวจวัดค่าของแข็งจึงมีหลายชนิด ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ สำหรับน้ำเสียจากแหล่งน้ำต่างๆ นั้น มักจะหาค่าของแข็งดังนี้

ü    ของแข็งตกตะกอน  (Settleable Solids) หมายถึง ของแข็งซึ่งจะนอนก้นเนื่องจากแรงโน้มถ่วงจำเพราะสูงกว่าน้ำเท่านั้น ค่าของแข็งตกตะกอนนี้นอกจากจะบอกค่าความสกปรกของน้ำแล้ว ยังใช้ประโยชน์ในการออกแบบถังตกตะกอน (Sedimentation Tank) ในระบบบำบัดน้ำเสียอีกด้วย

ü    ของแข็งทั้งหมด (Total Solids)  สำหรับการวิเคราะห์น้ำเสียประเภทต่างๆนั้นค่าของแข็ง ทั้งหมดมีความสำคัญน้อยมากเพราะยากที่จะแปรผลให้ได้ค่าที่แน่นอน ดังนั้นจึงนิยมบอกค่าความสกปรกของน้ำเสียด้วยค่า BOD และ COD  อย่างไรก็ตาม ค่าของแข็งทั้งหมดสามารถใช้ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของน้ำเสียที่มีผลต่อการตกตะกอนได้

ü    ของแข็งแขวนลอย (Suspended Solids)  หมายถึง สารแขวนลอยในของเหลวซึ่งมีประโยชน์มากสำหรับการวิเคาะห์น้ำเสียและเป็นค่าหนึ่งที่บอกถึงค่าความสกปรกของน้ำเสียนั้น ตลอดจนบอกถึงประสิทธิภาพของขั้นตอนการบำบัดน้ำเสียต่างๆ การหาค่าของแข็งแขวนลอยจึงมีความสำคัญเท่ากับค่า BOD

 

7.       สีและความขุ่น  เกิดจากอุตสาหกรรมประเภทสิ่งทอ กระดาษ ฟอกหนัง และโรงฆ่าสัตว์ สีและความขุ่นจะขัดขวางกระบวนการสังเคราะห์แสงในน้ำ

·       ความขุ่น (Turbidity) เกิดจากสิ่งแขวนลอยในน้ำเช่น ตะกอนแขวนลอย แพลงค์ตอน และสิ่งมีชีวิตเล็กๆ สารพวกนี้จะทำให้เกิดการกระจัดกระจายและดูดซึมของแสงทะลุผ่าน ทำให้มีผลต่อขบวนการสังเคราะห์แสงของพืชน้ำ นอกจากนี้สารเคมีบางอย่างก็เป็นบ่อเกิดของความขุ่นได้เช่นกันเมื่อสัมผัสกับอากาศ เช่น เหล็ก และแมงกานีส หรืออาจจะเป็นแหล่งเจริญเติบโตของแบคทีเรียบางชนิด

·       สี  (Color)  สีของน้ำตามธรรมชาติเกิดจากสารอินทีย์ต่างๆ เช่น ใบไม้ ใบหญ้า และซากสัตว์ ซึ่งมี ลิกนินเป็นองค์ประกอบ ส่วนสีของน้ำเสียจะใช้วัดระยะเวลาของน้ำเสียที่อยู่ในบ่อบำบัด (อายุของน้ำเสีย) โดยน้ำเสียที่เกิดขึ้นใหม่ๆ ส่วนใหญ่จะมีสีเทาปนน้ำตาลอ่อน และจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเทาแก่ และสีดำในที่สุด แต่บางอุตสาหกรรมมีการเติมสีลงในน้ำเสีย กรณีสีของน้ำเสียจะขึ้นอยู่กับซัลไฟด์ของโลหะหนักที่มีอยู่ในสีเหล่านั้น

 

8.       กรดและด่าง (pH)  การอ่านค่าความเป็นกรด-ด่าง มีช่วงตั้งแต่ 0-14  โดยสารละลายที่มีค่า pH ต่ำกว่า 7 เรียกว่า สารละลายเป็นกรด เท่ากับ 7 เยกว่า สารละลายเป็นกลาง (Neutral Solution)  สูงกว่า 7 เรียกว่าสารละลายเป็นด่าง น้ำที่มีคุณภาพที่ดีจะต้องมีค่า pH ใกล้เคียง หรือ เท่ากับ 7 แต่ในทางปฏิบัติได้กำหนดมาตรฐานค่า pH ของน้ำทิ้งอยู่ในช่วง 5-9

9.       จุลินทรีย์ (Microorganism)  โดยทั่วไปสามารถแบ่งจุลินทรีย์ออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ Eucaryotes , Eubacteria และ Archaebacteria โดยสองกลุ่มหลังนี้มักจะเรียกรวมกันว่า กลุ่ม Procaryotic ซึ่งมีแบคทีเรียเป็นองค์ประกอบและมีบทบาทสำคัญต่อการบำบัดน้ำเสีย ส่วนจุลิทนทรีย์ในกลุ่ม Eucaryotes ที่มีบทบาทสำคัญต่อการบำบัดน้ำเสียได้แก่ รา โปรโตซัว และสาหร่ายชนิดต่าง

10.    สารกัมมันตรังสี (Radioactive Waste)   หมายถึง สารใดๆ ที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ต่อไปได้และปนเปื้อนด้วยกัมมันตรังสีในระดับที่มีความเสี่ยงต่ออันตรายของสุขภาพและสิ่งแวดล้อม สารกัมมันตรังสี นอกจากมีอันตรายสูงแล้ว บางชนิดยังคงสภาพได้ในระยะเวลายาวนานนับพันปี

·       ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีวิธีการกักเก็บที่ปลอดภัย และแน่ใจว่าจะไม่รั่วไหลออกสู่สิ่งแวดล้อมภายนอกจนกว่าจะหมดสภาพไปเอง

·       ตัวอย่างสารกัมมันตรังสีที่สำคัญได้แก่ Uranium Plutonium และ Thorium

                        ·      แหล่งกำเนินสารกัมมันตรังสีที่สำคัญในปัจจุบันได้แก่ แหล่งผลิตอาวุธนิวเคลียร์ โรงงานผลิตไฟฟ้า  

                                    นิวเคลียร์ เหมืองแร่ยูเรเนี่ยม และกากกัมมันตรังสี ที่เกิดจากกิจกรรมอื่นๆ อาทิ การแพทย์การ

                                    วิจัย และการถนอมอาหาร เป็นต้น